วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

สิทธิของข้าราชการทหารเมื่อออกจากราชการ

สิทธิของข้าราชการทหารเมื่อออกจากราชการ
ผู้ที่รับราชการเป็นทหารเมื่อพ้นจากราชการด้วยเหตุลาออก เกษียณอายุให้ออก โดยไม่มี
ความผิดหรือเสียชีวิต หากรับราชการโดยกระทำความดีความชอบมาตลอด ทางราชการ
จะตอบแทนผู้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หรือจ่ายเป็นรายเดือน
พร้อมกับเงินก้อนอีกจำนวนหนึ่งเรียกว่าบำเหน็จดำรงชีพและยังมีสิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ
การศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส และ
บุตร หากเสียชีวิตขณะรับราชการหรือผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเสียชีวิต ทางราชการจะจ่ายเงินให้แก่
ทายาทเรียกว่าบำเหน็จตกทอด กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
๑. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๒. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๓. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ.๒๕๒๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๔. ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการขอรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ และการจ่ายเงิน
พ.ศ.๒๕๔๑
๕. พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗
๖. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ.๒๔๙๕
๗. ข้อบังคับทหารว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตรที่ ๑๐/๑๖๕๓๖
ลง ๑๔ พ.ย.๘๒ ๒๔๘๒

การเตรียมตัวของข้าราชการทหารเมื่อจะออกจากราชการ
ข้าราชการทหารที่รับราชการและมีความประสงค์จะขอลาออกจากราชการก่อนเกษียณ
อายุราชการ หรือเมื่อเกษียณอายุราชการมีสิทธิได้รับ เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เป็นไปตาม
ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ.๒๔๙๕ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ.๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อความสะดวกและ
รวดเร็วในการดำเนินการยื่นเรื่องราวขอรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ควรจะมีการตรวจสอบ
ความถูกต้องของสมุดประวัติรับราชการอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ดังนี้
๑. ชื่อ นามสกุล
๒. วัน เดือน ปี เกิด
๓. การขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ
๔. การบันทึกคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการ
๕. วันที่เริ่มเข้ารับราชการ
๖. การบันทึกรายการเกี่ยวกับตำแหน่ง
๗. การบันทึกเวลาราชการเป็นทวีคูณกรณีต่าง ๆ โดยมีบัญชีรับรองเวลาราชการ
ทวีคูณแนบไว้ด้วย
๘. การบันทึกรายการรับเงินเดือน และเงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ เช่น เงินเพิ่มพิเศษสำหรับ
การสู้รบ เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับนักบินประจำกอง เงินเพิ่มพิเศษรายเดือน
สำหรับนักโดดร่มประจำกอง
๙. การบันทึกวันลาอุปสมบท การลาไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศ
๑๐. การบันทึกรายการได้รับพระราชทานและส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
๑๑. การบันทึกเกี่ยวกับทายาท เช่น บิดามารดา คู่สมรส บุตร
๑๒. มีการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดหรือไม่ (กรณีไม่มีทายาท)
๑๓. มีการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษหรือไม่
(รายละเอียดเพิ่มเติม)

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 ตุลาคม 2553 เวลา 01:05

    ข้าราชการบรรจุรับราชการตั้งแต่ปีไหนจึงจะได้รับบำนาญ
    และตั้งแต่ปีไหนได้รับเป็นบำเหน็จ

    ตอบลบ
  2. ถ้าลาออกมาแล้ว ตามโครงการรับเงินเป็นเดือน 12 ปี จะกลับเข้ารับราชการอีกได้ไหม

    ตอบลบ

Google